// เกี่ยวกับไทโอยูเรีย

สารไทโอยูเรีย หรือไทโอคาร์บาเมต

เกร็ดความรู้ สารไทโอยูเรีย หรือไทโอคาร์บาเมต (Thiourea; สูตรโครงสร้าง: SC(NH2)2) คือ สารอินทรีย์ที่มีกำมะถัน หรือออร์กาโนซัลเฟอร์ ชนิดหนึ่งมีโครงสร้างคล้ายยูเรีย ยกเว้นออกซิเจน ที่ถูกแทนที่ด้วยกำมะถัน โดยสารไทโอยูเรีย มีแนวโน้มเพิ่มเปอร์เซ็นการแตกตาได้ เนื่องจากไทโอยูเรียมีไนโตรเจน 36% และอนุภาคกำมะถันเป็นส่วนประกอบของกรดอะมิโนซีสเทอีน และเมไทโอนิน ซึ่งเป็นสารประกอบของโปรตีน และกรดอะมิโน ซึ่งทั้งสองชนิดเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ อินทรีย์สารหลายชนิด โดยกำมะถันจะเปลี่ยนรูปเป็นซันเฟต ซึ่งละลายน้ำง่าย เคลื่อนย้ายสารนี้ทางท่ออาหาร เพื่อใช้สังเคราะห์โปรตีนที่ยอดอ่อน ผลหรือปลายราก การดูดซึมซัลเฟตของราก ทำให้พืชมีอาหารสะสมมากขึ้น โดยมีผลลดปริมาณสารยับยั้ง การเจริญเติบโตภายในพืช ทั้งนี้

  1. **สารไทโอยูเรีย,ไม่มีผลในการชักนำให้ตายอดเปลี่ยนเป็นตาดอกได้ จึงต้องทำการบำรุงพืชให้พร้อมสำหรับการแตกตาดอก
    โดยมีสารไทโอยูเรีย ช่วยทำลายการพักตัว และทำให้ ตาใบ/ช่อดอก เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ**

คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์

ชื่อตาม IUPAC : Thiourea
ชื่ออื่น : Thiocarbamide
สูตรทางเคมี : CH4N2S
น้ำหนักโมเลกุล : 76.12 g/mol
ลักษณะทางกายภาพ : เป็นของแข็งสีขาว (white solid)
ความหนาแน่น : 1.405 g/ml
จุดหลอมเหลว : 182 oC 455 ok, 360 oF
ความสามารถละลายได้ : 14.29/100 ml (25 oC) ในน้ำ

การใช้ ด้านอุตสาหกรรม

1.สีย้อมและเม็ดสี

1.1สีย้อมสังเคราะห์: ไทโอยูเรียสามารถใช้สังเคราะห์สีย้อมเฉพาะบางชนิดได้ เช่น สีย้อมซัลไฟด์และสีย้อมโดยตรง สีย้อมเหล่านี้มีประสิทธิภาพการย้อมที่ดีและมีความคงทน และใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น สิ่งทอ เครื่องหนัง และเครื่องสำอาง

อ้างอิง: Thiourea uses | Shaanxi BLOOM Tech Co., Ltd

1.2 สารเติมแต่งเม็ดสี: ไทโอยูเรียสามารถใช้เป็นสารเติมแต่งเม็ดสีเพื่อปรับสีและประสิทธิภาพของเม็ดสี สามารถรวมกับโมเลกุลของเม็ดสีเพื่อสร้างระบบสีที่เสถียรยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มความทนทานต่อแสง ทนน้ำ และทนทานต่อสารเคมีของเม็ดสี

2. ในด้านปฏิกิริยาโฟโตเคมีคอล

2.1 สารไวแสง: ไทโอยูเรียสามารถใช้เป็นสารไวแสงเพื่อเริ่มต้นหรือเร่งปฏิกิริยาเคมีในปฏิกิริยาเคมีแสง มันสามารถดูดซับพลังงานแสงและแปลงเป็นพลังงานเคมี ซึ่งทำให้เกิดการสลายตัว การสังเคราะห์ หรือการเปลี่ยนแปลงของสารประกอบ

2.2 สารเพิ่มความเสถียรของแสง: ไทโอยูเรียและอนุพันธ์ของไทโอยูเรียสามารถใช้เป็นสารเพิ่มความเสถียรของแสงเพื่อปกป้องวัสดุโพลีเมอร์จากการเสื่อมสภาพและการเสื่อมสภาพที่เกิดจากรังสีอัลตราไวโอเลต สามารถดูดซับพลังงานอัลตราไวโอเลตและแปลงเป็นพลังงานความร้อนที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานของวัสดุ

3. ในด้านเซ็นเซอร์ไฟฟ้าเคมี

3.1 วัสดุอิเล็กโทรด: ไทโอยูเรียสามารถใช้เป็นวัสดุอิเล็กโทรดสำหรับเซ็นเซอร์ไฟฟ้าเคมีเพื่อตรวจจับและวิเคราะห์สารเคมีในสิ่งแวดล้อม สามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้ากับสารที่ทดสอบและสร้างสัญญาณปัจจุบัน จึงสามารถตรวจจับสารที่ทดสอบในเชิงปริมาณได้

3.2 ตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า: ไทโอยูเรียสามารถใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าเพื่อเร่งอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าและปรับปรุงประสิทธิภาพของปฏิกิริยา สามารถลดพลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยาและส่งเสริมกระบวนการถ่ายโอนอิเล็กตรอน จึงบรรลุการสังเคราะห์และการวิเคราะห์เคมีไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ

4. การใช้งานอื่นๆ

4.1 การรักษาหนัง: ไธโอยูเรียสามารถใช้เป็นยากำจัดขนหรือสารกันบูดในกระบวนการบำบัดหนัง สามารถกำจัดขนออกจากหนังได้และป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อราหรือเน่าเสีย

4.2 สารเติมแต่งยาง: ไทโอยูเรียสามารถใช้เป็นสารเติมแต่งยางเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยาง สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการประมวลผล คุณสมบัติทางกล และความต้านทานการเสื่อมสภาพของยางได้

4.3 สารเคมีในบ่อน้ำมัน:ผงไทโอยูเรียสามารถใช้เป็นสารเคมีในบ่อน้ำมันในการพัฒนาบ่อน้ำมัน สามารถเติมลงในบ่อน้ำมันเพื่อเป็นตัวยับยั้งการกัดกร่อน ตัวยับยั้งตะกรัน และตัวยับยั้งขี้ผึ้ง เพื่อปกป้องอุปกรณ์บ่อน้ำมันและปรับปรุงประสิทธิภาพการนำน้ำมันกลับมาใช้ใหม่

 การใช้ ด้านการเกษตร

1.ช่วยลดปริมาณสารยับยั้ง การเจริญเติบโต
2.กระตุ้นการงอกของเมล็ด
3.ช่วยกระตุ้นการแตกตาใบใหม่ให้เร็วขึ้นและสม่ำเสมอ ในช่วงการเตรียมต้น ในไม้ผลเพื่อการผลิตนอกฤดู
4.ช่วยกระตุ้นการแตกตาดอกได้ แต่ต้องมีการใช้สารชักนำการออกดอกก่อน หรือทำการสะสมอาหารให้พร้อมที่จะแท่งช่อดอก

*** อัตราการใช้สารไทโอยูเรียเพื่อการฉีดพ่นเพื่อกระตุ้นแตกตาใบ และชักนำออกดอก ใช้ในความเข้มข้นแตกต่างไปตามชนิดพืช

 ข้อควรระวัง

1.ไม่ควรฉีดพ่นในระยะใบอ่อน จะส่งผลทำให้พืชใบไหม้ได้
2.ไม่ควรฉีดพ่นในสภาพอากาศร้อน หรือสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำ
3.ใช้ได้กับไม้ผลบ้างชนิดที่เป็นไม้เนื้อแข็ง ไม่สามารถใช้กับพืชไร่ พืชผัก

*** ช่วงเวลาการใช้พ่นให้โดนใบควรทำในช่วงเช้าหรือเย็น ถ้าพ่นในช่วงแดดจัดอาจทำให้ใบไหม้ได้

 นิยมใช้กับพืช ดังนี้

1.ช่วยกระตุ้นการแตกตาใบใหม่ใน มะม่วง มังคุด ชมพู่ ส้มเขียวหวาน ลิ้นจี่
2.ช่วยชักนำออกดอกใน ลำไย มะม่วง มะนาว ทุเรียน เงาะ องุ่น มะลิ ลิ้นจี่
3.ช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น และเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดใน มะเขือเปราะ

วิธีการใช้และอัตราการใช้

ชนิดของพืช

วิธีการใช้

มะลิ

1.กระตุ้นการออกดอก พ่นสารไทโอยูเรีย 200กรัม/น้ำ 20ลิตร  หลังพ่น 20 วันมะลิจะเริ่มออกดอก

มันสำปะหลัง

1.เร่งการแตกตาของท่อนพันธุ์ ผสมไทโอยูเรีย 100กรัม/น้ำ 20ลิตร แช่เป็นเวลา 30นาที-1ชั่วโมง

มะเขือเปราะ

1.เพื่ออัตราการงอก ผสมไทโอยูเรีย 10กรัม/น้ำ 2ลิตร แช่เป็นเวลา 12 ชั่วโมง

มะนาว

1.กระตุ้นการออกดอก พ่นสารไทโอยูเรีย 30-50กรัม/น้ำ 20ลิตร

มะม่วง

1.กระตุ้นการแตกตาใบใหม่เร็วขึ้น หลังตัดแต่งทรงพุ่ม พ่นไทโอยูเรีย 100กรัม/น้ำ 20ลิตร มะม่วงจะแตกตาใบใน 7-10 วัน
2.กระตุ้นการแตกตาดอก ฉีดพ่นหลังจากชักนำให้ออกดอก พ่นไทโอยูเรีย 100กรัม+0-52-34 500กรัม+ฮิวมิค 10กรัม+อะมิโน 50ซีซี/น้ำ20ลิตร

ลำไย

1.กระตุ้นการแตกตาใบใหม่เร็วขึ้น หลังตัดแต่งทรงพุ่ม พ่นไทโอยูเรีย 100กรัม/น้ำ 20ลิตร
2.ใช้ร่วมกับสารชักนำการออกดอก 500กรัม+ไทโอยูเรีย 500กรัม+ฮิวมิค 100กรัม/น้ำ 200 ลิตร

มังคุด

1.กระตุ้นการแตกตาใบ พ่นไทโอยูเรีย 20-40 กรัม+น้ำตาลเด็กซ์โตรส 600กรัม/น้ำ 20ลิตร หลังพ่น 7-10 วันจะเริ่มแตกตาใหม่

ลิ้นจี่

1.กระตุ้นการแตกใบ หลังตัดแต่ทรงพุ่ม พ่นไทโอยูเรีย 100 กรัม/น้ำ20ลิตร ลิ้นจี่จะแตกตาใหม่ประมาณ 10-15 วัน
2.กระตุ้นให้แตกตาดอกสม่ำเสมอ เพื่อลิ้นจี่แท่งช่อดอกได้ 50 % พ่นไทโอยูเรีย 100กรัม/น้ำ 20 ลิตร

เงาะ

1.กระตุ้นการแตกตาใบ หลังตัดแต่ง พ่นไทโอยูเรีย 100กรัม/น้ำ 20ลิตร
2.กระตุ้นการแตกตาดอก หลังจากงดน้ำต้นเงาะพร้อมออกดอก พ่นไทโอยูเรีย 15 กรัม/ต้น

ชมพู่

1.เร่งการแตกตาใบให้ออกสม่ำเสมอ พ่นไทโอยูเรีย 100กรัม/น้ำ 20 ลิตรหลังพ่น 7-10 วันจะเริ่มแตกตาใหม่

องุ่น

1.กระตุ้นการแตกตาดอก ก่อนออกดอก 5.5 สัปดาห์ พ่นไทโอยูเรีย 300 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

ส้มเขียวหวาน

1.กระตุ้นการแตกใบใหม่ พ่นไทโอยูเรีย 60กรัม/น้ำ 20 ลิตร แต่จะทำให้ออกทั้งตาใบและตาดอก

ทุเรียน

1.กระตุ้นการแตกดอก พ่นไทโอยูเรีย 30กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นเน้นกิ่งทีเห็นตาดอกระยะดอกไข่ปลา
ไม่ควรพ่นเน้นที่ใบมากเกินใบอาจจะทำให้ใบไหม้ได้


ไทโอยูเรีย,สารไทโอยูเรีย,ไทโอยูเรียนำเข้า,ไทโอยูเรียน 25 KG

^